เตรียมตัวใส่ขาเทียม

5 ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนใส่ขาเทียม

การเตรียมตัวก่อนใส่ขาเทียมเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ แต่จริงๆแล้วการเตรียมตัวเตรียมร่างการเตรียมตอขาให้พร้อมสำหรับการใช้ขาเทียมนั้นสำคัญมากๆเพราะจะทำให้ขั้นตอนการผลิตและการฝึกฝนง่าย รวดเร็วและสวยงามยิ่งขึ้น

1.การดูแลตอขาเบื้องต้น

  • เมื่อแผลหายสนิทแล้วควรล้างทำความสะอาดตอขาทุกวันด้วยน้ำเปล่ากับสบู่อ่อน และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
  • ทาครีมที่บริเวณตอขอไม่ให้ผิวหนังแห้งแตกได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดแผลซ้ำขึ้นได้อีก
  • หมั่นสังเกตตอขาทุกๆวันว่ามีอาการบวมแดง มีแผล น้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมาจากรอยเย็บหรือความผิดปกติต่างๆ
  • หมั่นนวดบริเวณรอยเย็บและบริเวณรอบรอยเย็บเบาๆเพื่อให้แผลอ่อนนุ่ม

2.พันผ้า การพันผ้าจะช่วยไม่ให้ตอขาบวม ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้นและยังทำให้รูปตอขาสวยงามพร้อมสำหรับการใส่ขาเทียม

  • ผู้ป่วยควรผันผ้าไว้ไว้ตลอดเวลาเว้นตอนออาบน้ำแต่ในระหว่างวันควรพักตอขาประมาณ15นาทีหลังจากนั้นผันกลับไปเหมือนเดิม ทุกๆ3-4ชั่วโมง
  • ผ้าสำหรับผันตอขาควรจะเปลี่ยนและทำความสะอาดทุกวัน
  • การพันตอขาควรพันให้กระชับเท่ากันทั่วทั้งตอขา แต่ไม่แน่นจนเกินไป

เตรียมตัวใส่ขาเทียม


วีดีโอสอนพันผ้าตอขาใต้เข่า

วีดีโอสอนพันผ้าตอขาเหนือเข่า

3.Phantom sensation เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการสูญเสียอวัยวะไปแล้ว

ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ายังมีอวัยวะส่วนที่ถูกตัดออกไปแล้ว ถ้ามีอาการเจ็บปวดคล้ายเข็มแทง ไฟฟ้าชอตหรือแสบร้อนอาการเหล่านี้จะเรียกว่าอาการปวดหลอน (Phantom limb pain) โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทและสมอง โดยทั่วไปแล้วอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเองตามลำดับดับ แต่ถ้าหากว่ามีอาการรุนแรงให้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป แต่โดยเบื้องต้นแล้วเราสามารถกระตุ้นความรู้สึกที่ปลายต่อเพื่อช่วยลดอาการphantom sensation

  • ยืนลงน้ำหนักที่ปลายตอขาบนเก่าอี้ที่เบาะนิ่มรอง วิธีนี้นากจากจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกแล้วยังช่วยเพิ่มแรงทนทานของตอขาได้อีกด้วย
  • นวดคลึงเป็นวงกลมไปทั่วๆตอขา ค่อยๆเพิ่มแรงกดขึ้นทีละน้อย
    นวดขาเทียม
  • ใช้ผ้าคล้องที่ไปที่ปลายตอขาแล้วออกแรงดึงผ้า
    นอนดึงขาเทียม

4.ออกกำลังกาย ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อที่คนไข้จะสามารถยกขาเทียมและเดินได้อย่างมั่นคงปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดข้อติด

  • ตัดขาเหนือเข่า
    ตัดขาเหนือเข่า
  • ตัดขาใต้เข่า
    ตัดขาใต้เข่า

5.ข้อควรระวัง

  • ระวังการนั่งงอขาเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีโอกาสเกิดข้อติดได้ง่าย ให้นั่งและเหยียดเข่าให้ตึง ในกรณีของการตัดขาเหนือเข่าให้นอนคว่ำเพื่อยืดกล้ามเนื้อหน้าขาไม่ให้เกิดอาการข้อสะโพกติดได้

Picture7 Picture8

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top