เท้าปุก

โรคเท้าปุก (Clubfoot) รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

โรคเท้าปุก (Clubfoot) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเท้ามักผบมากในเด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยเท้าจะบิดผิดรูปมักเรียกกันว่า เท้าปุก เท้าแป ในปัจจุบันสำหรับโรคนี้นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยโรคเท้าปุกนั้น อาจเกิดกับเท้าข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็เป็นไปได้ แพทย์จะแนะนำให้คนที่เป็นโรคนี้เข้ารับการรักษาทันที โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

เท้าปุก เกิดจากอะไร?

อย่างที่บอกไปข้างต้นในปัจจุบันโรคเท้าปุก เท้าแป นั้นเรายังไม่ทราบสาเหตุแแน่ชัด สามารถพบได้หลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม กระดูกบริเวณข้อเท้าผิดรูปตั้งแต่เกิดโรคเท้าปุกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุ คือ

  1. เกิดจากตำแหน่งทารกในครรภ์ถูกผนังมดลูกกดทับ
  2. แบบไม่ทราบสาเหตุ
  3. เกิดจากกลุ่มอาการหรือโรคทางระบบประสาท

โดยปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพ่อแม่ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเท้าปุก แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์อาศัยในมดลูกที่มีน้ำคร่ำน้อย ท่าเด็กในครรภ์ที่มีการกดเบียดผนังมดลูก รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองอาจจจะเป็นผลที่ตามมาหรือเป็นสาเหตุของเท้าปุก เท้าแปก็ได้

โรคเท้าปุกเกิดจาก

ref: pr.moph.go.th

โรคเท้าปุก มีกี่ชนิด?

โรคเท้าปุกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • โรคเท้าปุกเทียม (postural clubfoot) เกิดจากการผิดปกติของเท้าที่ขณะอยู่ในครรภ์มีเท้าบิดเข้าด้านใน ไม่มีรอยลึกผิวหนังด้านในของฝ่าเท้าและด้านหลังของข้อเท้า ซึ่งโรคเท้าปุกประเภทนี้สามารถดัดให้เท้าอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าปกติได้ง่าย
  • โรคเท้าปุกแท้ (congenital clubfoot) โรคเท้าปุกประเภทนี้ไม่สามารถดัดให้ความผิดรูปหายไปได้
  • โรคเท้าปุกชนิดที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น (syndromic หรือ teratologic clubfoot) เกิดจากการที่มีโรคอื่นร่วมด้วยเช่น โรคกล้ามเนื้อยึดติดแข็ง (arthrogryposis multiplex congenita) โรคถุงน้ำในไขสันหลัง (myelomeningocele)  ซึ่งหลังการรักษา โรคเท้าปุกประเภทนี้สามารถกลับเป็นซ้ำได้

การรักษาโรคเท้าปุก (Clubfoot)

รักษาเท้าปุก เท้าแป

การรักษาจะเป็นการักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกควรทำตั้งแต่ทารกพึ่งคลอดเพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไปกระดูกในเท้าจะเจริญเติบโตผิดแนว ทำให้กระดูกและข้อในเท้าผิดรูปอย่างถาวรได้ 

การดูแลควรสวมรองเท้าที่พอดีและรับกับลักษณะของฝ่าเท้าสวมอุปกรณ์เสริมที่เท้าเพื่อลดอาการปวดเท้า โดยรองเท้าหรือแผนเสริมนี้ควรได้รับการทำจากนักกายอุปกรณ์  ด้วยเช่นกัน

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top