รองเท้าเบาหวาน

ความสำคัญของรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

มื่อพูดถึงโรคเบาหวาน หลายคนอาจจะนึกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่มีอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสำคัญ นั่นก็คือ “การดูแลเท้า” ซึ่งการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลหรือแผลที่เท้า ในบทความนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ป้องกันการบาดเจ็บ: เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีปัญหาเรื่องความรู้สึกที่เท้าลดลง การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจึงสำคัญในการป้องกันแผลเป็นหรือบาดแผลจากการถูหรือการกดดัน ลดการอักเสบ: การเลือกวัสดุรองเท้าที่มีการระบายอากาศดี ช่วยลดความชื้น ป้องกันเชื้อรา และลดความเสี่ยงของการเกิดอักเสบ ป้องกันการเกิดแผลเท้า: การใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสมหรือรองเท้าที่แน่นเกินไป อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือรอยแตกที่เท้า ช่วยในการรักษา: หากเกิดแผลหรืออาการอักเสบบริเวณเท้า รองเท้าที่เหมาะสมสามารถช่วยในการลดการเกิดแรงกดดัน ป้องกันการทำลายแผลเพิ่มเติม เมื่อพิจารณาความสำคัญดังกล่าว การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพและความปลอดภัย เราจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเท้าเราเสมอ. คุณสมบัติจำเป็นของรองเท้าเบาหวานที่ดีควรมีอะไรบ้าง? รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการเกิดปัญหาที่เท้า เช่น การเสื่อมของเส้นประสาท, การไหลเวียนเลือดไม่ดี, หรือแผลที่ไม่หายดี ดังนั้น คุณสมบัติของรองเท้าเบาหวานที่ควรมี ได้แก่ 1. ความสบาย: รองเท้าควรมีพื้นผิวภายในที่นุ่ม ไม่มีเยื่อหรือตะปูที่จะทำให้เกิดแรงกดดันหรือถลอกบริเวณเท้า 2. ขนาดและรูปทรง: ขนาดควรพอดีกับเท้า ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป ควรมีพื้นที่สำหรับนิ้วเท้าให้ขยับได้สะดวก ควรมีหัวรองเท้าที่กว้างพอ ไม่ทำให้นิ้วเท้าถูกบีบ 3. การระบายอากาศ: วัสดุของรองเท้าควรสามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความชื้นและป้องกันการเจริญของเชื้อรา 4. แผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้า: […]

ความสำคัญของรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน Read More »

เท้าผิดรูปจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ความผิดรูปของเท้าอันเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานรวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องและการดูแลรักษาโดยมีกายอุปกรณ์เป็นส่วนในกระบวนการรักษา Charcot foot (ชาคอตฟุต) หรือ ความผิดรูปของเท้า เป็นโรคที่ส่งผลในผู้ป่วยปลายประสาทเสื่อม มีกระทบกับเนื้อเยื่ออ่อน กระดูกและข้อของคนไข้ กระดูกของคนไข้จะเปราะบางและหักง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายๆโรคแต่ในปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการเกิดชาคอตฟุต เมื่อกระดูกเปราะบางลงทำให้มีโอกาสหักง่ายมากขึ้นร่วมกับมีอาการชาเท้าจากปลายประสาทเสื่อมทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือมีความรู้สึกผิดปกติที่เท้า ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ป่วยจึงไม่รู้ว่ามีอาการผิดปกติที่เท้าเกิดขึ้นทำให้ผู้ป่วยยังใช้งานเท้าต่อไปจนทำให้กระดูกหัก เป็นแผล หรือผิดรูป เมื่อเวลาผ่านไปกระดูกเหล่านั้นก็จะสมานกันในลักษณะที่ผิดปกติเพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากการที่ผู่ป่วยไม่ทราบถึงอาการบาดเจ็บ ส่งผลต่อการลงน้ำหนักที่ผิดตำแหน่ง เกิดเป็นแผลเรื้อรัง การสังเกตอาการ 1.มีอาการบวมแดงและร้อนที่เท้าถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆก็ตาม 2.ลักษณะรูปเท้าผิดปกติไปจากเดิม 3.เท้าชา ไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถรับรู้อุณหภูมิที่เท้าได้ การรักษา 1.การผ่าตัด การพิจารณาการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติและการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดไม่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายของการผ่าตัดคือการแก้ไข้ความผิดรูปของเท้า จัดแนวกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 2.การรักษาโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด -การจำกัดการเคลื่อนไหว เพื่อให้กระดูกสมานกันหรือป้องกันกระดูกหักหรือเท้าผิดรูปมากขึ้น -การใช้กายอุปกรณ์หรือรองเท้าตัดพิเศษ ช่วยพยุงเท้าไม่ได้เกิดการผิดรูปมากขึ้น กระจายน้ำหนักหรือเปลี่ยนที่ลงน้ำหนักเพื่อรักษาและป้องกันการเกิดแผล -การปรับการดำเนินกิจวัตร เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำหรือการบาดเจ็บซ้ำ อีกทั้งลดความเสี่ยงของเท้าอีกข้างหนึ่งที่จะเกิดความผิดปกติ กายอุปกรณ์ที่มีส่วนร่วมในการรักษาเท้าผิดรูปจากสภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน 1.อุปกรณ์ประคองข้อเท้าแบบลงน้ำหนักที่เอ็นหัวเข่า หรือ PTB-AFO ใช้สำหรับการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าและเปลี่ยนที่ลงน้ำหนักจากที่เท้ามาเป็นที่เอ็นหัวเข่าแทน เพื่อรักษากระดูกที่หักหรือแผลที่ฝ่าเท้าดีขึ้น PTB-AFO 2.CROW Walker อุปกรณ์มีลักษณะคล้ายรองเท้าบูทสูงที่มีความแข็ง จะใช้เมื่อแผลหรือกระดูกที่หักหายดีแล้วใช้สำหรับผยุงเท้าไม่ให้เกิดความผิดมากขึ้นไปอีกและป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก ภายในพื้นรองเท้าจะถูกออกแบบมาให้พอดีกับรูปเท้าที่ผิดปกติของผู้ป่วยช่วยในเรื่องของการกระจายน้ำหนักใต้ฝ่าเท้า CROW walker 3.รองเท้าตัดพิเศษ เป็นรองเท้าที่สั่งทำขึ้นพิเศษให้มีลักษณะเดียวกับเท้าที่ผิดปกติของคนไข้รองเท้าจะช่วยผยุงเท้าไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก ด้านในรองเท้าจะมีแผ่นรองเท้าที่ทำมาพอดูกับรูปเท้าช่วยกระจายน้ำหนักใต้ฝ้าเท้า

เท้าผิดรูปจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน Read More »

เตรียมตัวใส่ขาเทียม

5 ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนใส่ขาเทียม

การเตรียมตัวก่อนใส่ขาเทียมเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ แต่จริงๆแล้วการเตรียมตัวเตรียมร่างการเตรียมตอขาให้พร้อมสำหรับการใช้ขาเทียมนั้นสำคัญมากๆเพราะจะทำให้ขั้นตอนการผลิตและการฝึกฝนง่าย รวดเร็วและสวยงามยิ่งขึ้น 1.การดูแลตอขาเบื้องต้น เมื่อแผลหายสนิทแล้วควรล้างทำความสะอาดตอขาทุกวันด้วยน้ำเปล่ากับสบู่อ่อน และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง ทาครีมที่บริเวณตอขอไม่ให้ผิวหนังแห้งแตกได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดแผลซ้ำขึ้นได้อีก หมั่นสังเกตตอขาทุกๆวันว่ามีอาการบวมแดง มีแผล น้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมาจากรอยเย็บหรือความผิดปกติต่างๆ หมั่นนวดบริเวณรอยเย็บและบริเวณรอบรอยเย็บเบาๆเพื่อให้แผลอ่อนนุ่ม 2.พันผ้า การพันผ้าจะช่วยไม่ให้ตอขาบวม ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้นและยังทำให้รูปตอขาสวยงามพร้อมสำหรับการใส่ขาเทียม ผู้ป่วยควรผันผ้าไว้ไว้ตลอดเวลาเว้นตอนออาบน้ำแต่ในระหว่างวันควรพักตอขาประมาณ15นาทีหลังจากนั้นผันกลับไปเหมือนเดิม ทุกๆ3-4ชั่วโมง ผ้าสำหรับผันตอขาควรจะเปลี่ยนและทำความสะอาดทุกวัน การพันตอขาควรพันให้กระชับเท่ากันทั่วทั้งตอขา แต่ไม่แน่นจนเกินไป วีดีโอสอนพันผ้าตอขาใต้เข่า วีดีโอสอนพันผ้าตอขาเหนือเข่า 3.Phantom sensation เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการสูญเสียอวัยวะไปแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ายังมีอวัยวะส่วนที่ถูกตัดออกไปแล้ว ถ้ามีอาการเจ็บปวดคล้ายเข็มแทง ไฟฟ้าชอตหรือแสบร้อนอาการเหล่านี้จะเรียกว่าอาการปวดหลอน (Phantom limb pain) โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทและสมอง โดยทั่วไปแล้วอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเองตามลำดับดับ แต่ถ้าหากว่ามีอาการรุนแรงให้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป แต่โดยเบื้องต้นแล้วเราสามารถกระตุ้นความรู้สึกที่ปลายต่อเพื่อช่วยลดอาการphantom sensation ยืนลงน้ำหนักที่ปลายตอขาบนเก่าอี้ที่เบาะนิ่มรอง วิธีนี้นากจากจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกแล้วยังช่วยเพิ่มแรงทนทานของตอขาได้อีกด้วย นวดคลึงเป็นวงกลมไปทั่วๆตอขา ค่อยๆเพิ่มแรงกดขึ้นทีละน้อย ใช้ผ้าคล้องที่ไปที่ปลายตอขาแล้วออกแรงดึงผ้า 4.ออกกำลังกาย ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อที่คนไข้จะสามารถยกขาเทียมและเดินได้อย่างมั่นคงปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดข้อติด ตัดขาเหนือเข่า ตัดขาใต้เข่า 5.ข้อควรระวัง ระวังการนั่งงอขาเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีโอกาสเกิดข้อติดได้ง่าย ให้นั่งและเหยียดเข่าให้ตึง ในกรณีของการตัดขาเหนือเข่าให้นอนคว่ำเพื่อยืดกล้ามเนื้อหน้าขาไม่ให้เกิดอาการข้อสะโพกติดได้    

5 ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนใส่ขาเทียม Read More »

รักษาแผลเบาหวาน

กายอุปกรณ์กับกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน

ในกระบวนการ รักษาแผลเบาหวาน มีหลากหลายวิธีผสมผสานกันไปเพื่อทำให้แผลหายได้ไวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทานยา ทำแผลหรือแม้กระทั้งการใช้กายอุปกรณ์ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการปลายประสาทเสื่อมทำให้ความรู้สึกที่เท้าลดลงหรือไม่รู้สึกเลย เมื่อเวลาเกิดบาดแผลที่เท้าคนไข้มักจะไม่รู้ตัวและใช้เท้าต่อไปทำให้แผลบริเวณฝ่าเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้นและรุกลามไปจนตัดขาได้ กายอุปกรณ์ที่นำมาร่วมรักษาแผลเบาหวานนั้นจะช่วยทำให้แผลหายไวขึ้นหรือป้องกันการขยายขนาดของแผลและลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไข้สามารถดำเนินกิจวัตประจำในขณะที่แผลยังไม่สมานตัวดี หลักการการ รักษาแผลเบาหวาน โดยกายอุปกรณ์ การกระจายน้ำหนัก  เมื่อมีน้ำหนักมากดลงบนจุดใดจุดหนึ่งมากๆก็จะทำผิวหนังของเราเกิดบาดแผลได้ หลักการนี้คือการกระจายน้ำหนักออกไปให้ทั่วๆไม่กดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส นั้นหมายถึงการทำอุปกรณ์ให้มีขนาดและรูปร่างที่พอดีกับร่างกายมากที่สุด การเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนัก บาดแผลมักจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการลงน้ำหนักมากเป็นเวลานาน เราจึงจะย้ายตำแหน่งที่ลงน้ำหนักไปอยู่บริเวณอื่นที่ไม่มีบาดแผล หรือลงน้ำหนักผิดตำแหน่งอันเรื่องมากจากการผิดรูปของเท้าเราก็จะย้ายตำแหน่งน้ำหนักมาอยู่ที่บริเวณที่เหมาะสมแทน  การลดการเสียดสี การเลือกใช้วัสดุที่มาสัมผัสกับผิวของเรานั้นก็สำคัญ วัสดุที่มีแรงเสียดสีกับผิวเราน้อยก็จะทำให้ผิวไม่เกิดแผล นอกจากนี้การที่กายอุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเหมาะสมกับร่างกายก็จะไม่เกิดการขยับขณะสวมใส่กายอุปกรณ์ก็จะไม่เกิดการเสียดสีที่ผิวขึ้น กายอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน 1.แผ่นรองเท้า แผ่นรองเท้านี้จะใส่เข้าไปในรองเท้ารองรับฝ่าเท้าขณะใส่รองเท้า มีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบเฉพาะรายบุคคล แผ่นรองเท้าจะทำมาจากหลากหลายวัสดุ มีความแข็งและนิ่มแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะอาการของคนผู้ป่วย แผ่นรองเท้าจะถูกทำออกมาให้เข้าพอดีกับรูปเท้าและสัมผัสทั่วทั้งบริเวณฝ่าเท้าทำให้เกิดการกระจายน้ำหนักเท่ากันทั่วทั้งฝ่าเท้า หรือการออกแบบให้เปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณที่มีแผล การออกแบบแผ่นรองเท้าและการเลือกใช้วัสดุนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาจากอาการของคนไข้เป็นสำคัญ 2.อุปกรณ์ประคองข้อเท้า อุปกรณ์จะคลุมบริเวณทั่วทั้งเท้าขึ้นไปถึงบริเวณใต้เข่าและจำกัดการเคลื่อนไหว้ของข้อเท้า มีทั้งแบบเฉพาะบุคคลและแบบสำเร็จรูป อุปกรณ์ได้นำเอาหลักการการกระจายน้ำและการเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักจากเท้ามาที่บริเวณเอ็นหัวเข่าในกรณีที่เท้ามีบาดแผลขนาดใหญ่และไม่สามารถรับน้ำหนักที่เท้าได้ ช่วยให้แผลหายไว้ขึ้นอุปกรณ์ประคองข้อเท้านี้ยังสามารถใช้ร่วมกับแผ่นรองเท้าได้อีกด้วย ทั้งนี้แพทย์และนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาอาการและเห็นว่าแผ่นรองเท้าไม่ช่วยรักษาแผลเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเปลี่ยนมาใช้เป็นอุปกรณ์ประคองข้อเท้าแทน 3.รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน รองเท้าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจากกรวด หิน ดิน ทรายและสภาพแวดล้อมภายนอก การเลือกรองเท้าเบาหวานจึงมีสำคัญ หากเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะไม่สามารถปกป้องเท้าได้แล้วยังสามารถทำให้เท้าของผู้ป่วยเกิดแผลได้อีกด้วย รองเท้าควรจะมีขนาดที่พอดีกับเท้าของคนไข้ไม่เล็กเกินไปจนบีบเท้าหรือใหญ่เกินไปทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้าได้ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเท้าผิดรูปอาจจะไม่สามารถใช้รองเท้าที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาดได้ อาจจะต้องสั่งทำรองเท้าที่ตัดขึ้นสำหรับผู้ป่วยคนนั้น ๆ 7 วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าที่สายรัดเพราะผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการชาที่เท้าทำให้บางครั้งรองเท้าหลุดได้

กายอุปกรณ์กับกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน Read More »

โรค รองช้ำ คือ อะไร

โรค รองช้ำ คืออะไร อาการเป็นยังไง และมีวิธีรักษาอย่างไร

โรค รองช้ำ คืออะไร? รองช้ำ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าส่วนใหญ่จะมีอาการบาดเจ็บที่มักเกิดจากการบาดเล็ก ๆ น้อย ๆ  ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน ที่อาจจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือ อาจเกิดจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อง  จะมีการอักเสบ ปวดบวม เกิดจากการยืดเกินกว่าปกติของผังผืดใต้ฝ่าเท้า มีอาการเหมือนกับ อาการ กระดูกส้นเท้างอกผิดปกติ ( Heel Spur Syndrome) อาการของโรครองชํ้า โรครองช้ำมักทำให้เกิดอาการปวดหรือเจ็บบริเวณส้นเท้าเท้า  แต่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งฝ่าเท้าได้อาจจะทำให้เวลาเดินหรือวิ่งจะไม่ค่อยสะดวก ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ นั้นแหละ โรค รองช้ำ มีอาการปวดจะมากที่ส้นเท้าเมื่อคุณเริ่มเดินครั้งแรกหลังจากนอนหลับหรือพักผ่อน อาการปวดจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นในระหว่างทำกิจกรรมที่ใช้เท้าหรือการออกกำลังกาย แต่จะกลับมาหลังจากพักผ่อน ยกเท้าขึ้นจากพื้นยาก วิธีรักษาเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการ โรครองช้ำ ด้วยตัวคุณเอง ยกเท้าขึ้นบนเก้าอี้เป็นระยะ เมื่อทำได้ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เจ็บปวดประมาณ 20 นาที ทุกๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมง สวมรองเท้าหน้ากว้างและเป็นรองเท้าส้นเตี้ยและพื้นรองเท้านุ่ม ใส่แผ่นรองส้นรองเท้า ที่ออกแบบมาเพื่อรักษารองช้ำ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ การออกกำลังกายที่ไม่ได้ใช้การลงน้ำหนักอย่างเช่นว่ายน้ำ กินยาพาราเซตามอล ข้อห้ามของคนเป็นโรงรองช้ำ อย่าทานยาไอบูโพรเฟน

โรค รองช้ำ คืออะไร อาการเป็นยังไง และมีวิธีรักษาอย่างไร Read More »

5 เทคนิคเลือก รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง

5 เทคนิคเลือก รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง

รู้หรือไม่ในแต่ละปีประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีที่อาศัยอยู่ที่บ้านจะมีอาการหกล้มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะมีการหกล้มมากกว่า 1 ครั้งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยคือการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมการสวม รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง เป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง สำหรับใส่ในบ้านที่ดีที่ ควรปรับได้ง่ายเพื่อรองรับอาการบวมที่เท้าและกันลื่น รองเท้าจำเป็นต้องมีพื้นยางที่รองรับและมีที่รองรับส้นเท้าอย่างเพียงพอเพื่อช่วยในการทรงตัวขณะเดิน 6 เทคนิคเลือก รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง ที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ 1. ขนาดที่ถูกต้อง ก่อนอื่นคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ารองเท้าแตะที่คุณสวมใส่นั้นพอดีกับตัวคุณอย่างถูกต้อง ถ้าหลวมเกินไปและจะหลุดได้ง่ายและอาจทำให้คุณเสียการทรงตัวและล้มได้ หากแน่นเกินไปจะทำให้เจ็บปวดในการเดินจำกัด การไหลเวียนของคุณและอาจทำให้เท้าและนิ้วเท้าเสียหายได้ คำแนะนำง่ายๆ แต่คุณจะแปลกใจว่ามีผู้สูงอายุกี่คนที่เดินไปมาในรองเท้าแตะคู่เก่าที่พวกเขามีมานานหลายปีและมันก็พังทลายโดยที่นิ้วเท้าของพวกเขาดันรูที่ปลายรองเท้าแตะ 2. รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง ต้องรองรับส้นเท้า คุณต้องแน่ใจว่ารองเท้าแตะมีส้นที่รองรับได้ดี เท้าของคุณต้องสัมผัสกับรองเท้าแตะ แต่เพียงผู้เดียวตลอดเวลาดังนั้นผู้หญิงสูงอายุจำนวนมากจึงเดินไปรอบ ๆ บ้านโดยสวมรองเท้าแตะโดยไม่ใส่กลับซึ่งทำให้เท้าของคุณลื่นไถลเสียการทรงตัวและล้มได้ง่าย 3. มีการยึดเกาะที่ดี การยึดเกาะ รองเท้าแตะให้ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก วัสดุที่ทำจากยางกันลื่นดีที่สุด หลายคนไม่เคยตรวจสอบการยึดเกาะและเดินไปรอบ ๆ โดยสวมรองเท้าแตะแบบเรียบ อย่าลืมตรวจสอบรองเท้าของคุณ แม้บนพื้นพรมก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการลื่นล้มได้ แต่บนพื้นผิวที่เปียกอย่างลามิเนตเรียบและพื้นที่ปูกระเบื้องความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่มีกายึดเกาะที่ดี 4. รองเท้าที่ดีควรปรับได้ ถ้าขนาดเท้าของคุณเปลี่ยนไปดังนั้นคุณต้องรักษาความปลอดภัยไว้ตลอดเวลา รองเท้าแตะที่เป็นตีนตุ๊กแกนั้นยอดเยี่ยมเพราะแทบไม่ต้องปรับและรักษาเท้าให้มั่นคง พยายามหลีกเลี่ยงรองเท้าแตะที่มีเชือกผูกรองเท้าเพราะเวลาใส่ไปสักพักจะหลวม นอกจากนี้สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นอันตรายต่อการเดิน

5 เทคนิคเลือก รองเท้าแตะผู้สูงอายุหญิง Read More »

แผลเบาหวาน

วิธีดูแล แผลเบาหวาน ที่เท้า

แผลเบาหวาน หรือแผลที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คุณหมอมักคอยกำชับให้ผู้ป่วยเบาหวานระมัดระวังการเกิดแผล โดยเฉพาะการเกิดแผลที่เท้า เพราะแผลในผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้ากว่าแผลธรรมดาหรืออาจจะส่งผลให้ โดนตัดขาได้ถ้าดูแลไม่ดี โดยสาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า มีหลายปัจจัยได้แก่   ปลายประสาทเสื่อม ทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เท้าสูญเสียหรือลดลงไป ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมักไม่หยุดใช้เท้าเนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บทำให้แผลลุกลามและติดเชื้อในที่สุด ความผิดปกติของหลอดเลือด เนื่องจากสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ตีบหรือการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเหวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้เพียงพอทำให้การสมานตัวของแผลเป็นไปได้ช้า การติดเชื้อแทรกซ้อน แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ยิ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือดด้วยแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา การดูแลรักษา แผลเบาหวาน ที่เท้า การรักษาแผลเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน เช็ดให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่ควรใช้แอลกอฮอลเช็ดทำความสะอาดแผลเพราะแฮลกอฮอลจะไปทำลายเนื้อเยื่อที่แผลได้ แต่สามารถเช็ดทำความสะอาดรอบๆปากแผลได้ ใช้ผ้าปิดแผลปิดแผลที่ได้รับการทำความสะอาดแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดที่แผลโดยตรง หากแผลมีอาการบวมแดงและมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวด ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว การรักษาโดยแพทย์ โดยพิจารณาตามความรุนแรงของอาการ การทำแผลที่มีหนองและเนื้อตาย โดยแพทย์จะกรีดระบายหนองออกและตัดเนื้อที่ตายออกการใช้ยาปฎิชีวะนะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิฉัยและสั่งยา การหยุดพักบริเวณแผล พยายามเดินเท่าที่จำเป็นหรือแพทย์จะพิจารณาสั่งทำแผ่นรองเท้าหรือรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณแผล การผ่าตัดหลอดเลือด หากแผลได้รับการวินิฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบแข็ง ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมิณพยาธสภาพของโรคและความพร้อมของผู้ป่วยว่สำควรเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ การผ่าตัดเท้าทิ้ง จะจำเป็นเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดยแพทย์ผู้พิจารณาระดับการตัดเท้า การป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า รักษาความสะอาดของเท้า ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด สบู่ และเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว

วิธีดูแล แผลเบาหวาน ที่เท้า Read More »

เท้าปุก

โรคเท้าปุก (Clubfoot) รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

โรคเท้าปุก (Clubfoot) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเท้ามักผบมากในเด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยเท้าจะบิดผิดรูปมักเรียกกันว่า เท้าปุก เท้าแป ในปัจจุบันสำหรับโรคนี้นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยโรคเท้าปุกนั้น อาจเกิดกับเท้าข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็เป็นไปได้ แพทย์จะแนะนำให้คนที่เป็นโรคนี้เข้ารับการรักษาทันที โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป เท้าปุก เกิดจากอะไร? อย่างที่บอกไปข้างต้นในปัจจุบันโรคเท้าปุก เท้าแป นั้นเรายังไม่ทราบสาเหตุแแน่ชัด สามารถพบได้หลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม กระดูกบริเวณข้อเท้าผิดรูปตั้งแต่เกิดโรคเท้าปุกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุ คือ เกิดจากตำแหน่งทารกในครรภ์ถูกผนังมดลูกกดทับ แบบไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากกลุ่มอาการหรือโรคทางระบบประสาท โดยปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพ่อแม่ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเท้าปุก แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์อาศัยในมดลูกที่มีน้ำคร่ำน้อย ท่าเด็กในครรภ์ที่มีการกดเบียดผนังมดลูก รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองอาจจจะเป็นผลที่ตามมาหรือเป็นสาเหตุของเท้าปุก เท้าแปก็ได้ ref: pr.moph.go.th โรคเท้าปุก มีกี่ชนิด? โรคเท้าปุกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ โรคเท้าปุกเทียม (postural clubfoot) เกิดจากการผิดปกติของเท้าที่ขณะอยู่ในครรภ์มีเท้าบิดเข้าด้านใน ไม่มีรอยลึกผิวหนังด้านในของฝ่าเท้าและด้านหลังของข้อเท้า ซึ่งโรคเท้าปุกประเภทนี้สามารถดัดให้เท้าอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าปกติได้ง่าย โรคเท้าปุกแท้

โรคเท้าปุก (Clubfoot) รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด Read More »

ซ่อมขาเทียม

ซ่อมขาเทียมที่ไหนดี ควรเปลี่ยนแค่อะไหล่ หรือว่าเปลี่ยนขาเทียมใหม่เลย?

ไม่ดีแน่ หากขาเทียมที่เราใช้อยู่ทุกวันเกิดชำรุด ไม่รู้ว่าจะหาที่ ซ่อมขาเทียม ที่ไหนดี ควรเปลี่ยนแค่อะไหล่หรือว่าเปลี่ยนขาเทียมใหม่เลย? ค่าใช้จ่ายจะเป็นอย่างไรวันนี้ วรัตม์กิตติ์ คลินิก จะมาให้คำตอบกันว่า เราควรทำอย่างไร ซ่อมขาเทียมที่ไหนดี? โดยปกติแล้วหากขาเทียมเราเกิดชำรุดเสียหายนั้นการซ่อมขาเทียมที่แรกที่เรานึกถึงความเป็นที่ๆ เราทำขาเทียมมาไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล หรือ หน่วยงานที่เราไปทำแต่ถ้าหน่วยงานนั้นไม่สามารถซ่อมขาเทียมเราได้ เราอาจจะหา คลินิก หรือ โรงพยาบาลอื่นที่พอจะมีอะไหล่ขาเทียมที่เข้ากับรุ่นขาเทียมของเรา แต่หาชำรุดมากเกินไป เราอาจจะต้องเปลี่ยนขาเทียมใหม่ สำหรับสิทธิผู้ที่ถือบัตรคนพิการ ข้าราชการ หรือ ประกันสังคม รู้หรือไม่ว่า ท่านสามารถได้สิทธิเปลี่ยนอะไหล่ หรือ ซ่อมขาเทียมได้ฟรี ตามเงื่อนไขของบัตรผู้พิการ หรือกองทุนนั้นๆ ต้องการเปลี่ยนขาเทียมใหม่หรือซ่อมขาเทียมสามารถทำที่โรงพยาบาลบางกรวย ได้หรือไม่ เนื่องจากทางโรงพยาบาลบางกรวย มีหน่วยกายอุปกรณ์ ท่านสามารถ เปลี่ยนขาเทียม หรือซ่อมขาเทียมได้ฟรีตามสิทธิ โดยสามารถ แอดไลน์  Line: @varatmkittclinic (มี @ ด้วย)  ปรึกษากับทางเราได้ว่า ขาเทียมของท่านควรเปลี่ยนหรือว่าควรซ่อม ตัวอย่างขาเทียม    

ซ่อมขาเทียมที่ไหนดี ควรเปลี่ยนแค่อะไหล่ หรือว่าเปลี่ยนขาเทียมใหม่เลย? Read More »

รองเท้าสำหรับเท้าแบน

ควรใช้ รองเท้าสำหรับเท้าแบน หรือ แค่แผ่นรองเท้าแบน

เท้าแบน เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า เกิดขึ้นระหว่างกระบวณการ การเดิน เมื่ออุ้งเท้าของเราล้มหรือแบนลงตามการลงน้ำหนัก ดังนั้น รองเท้าสำหรับเท้าแบน จึงจำเป็นสำหรับผู้ที่มีอาการเท้าแบนเป็นอย่างมากแต่รองเท้าสำหรับเท้าแบนนั้น อาจจะไม่สวยถูกใจใครหลายๆ คนจึงเกิดคำถามว่า ใช้แค่ แผ่นรองเท้าแบน ได้หรือปล่า เรามีดูกันดีกว่า เลือกรองเท้าสำหรับเท้าแบน หากคุณกำลังจะซื้อรองเท้าเพื่อสวมใส่คุณควรคิดถึงรองเท้าวิ่ง เพราะว่าจะมีเทคโนโลยีที่ใส่เข้าไปเพื่อช่วยพยุงอุ้งในรองเท้ากีฬาประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่น ๆเลือกซื้อรองเท้าที่เหมาะกับประเภทของเท้าของคุณ ส่วนใหญ่จะมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ เท้าแบน โค้งสูงและเท้าเป็นกลาง การออกแบบบางอย่างจะไม่สามารถปรับให้เหมาะกับเท้าของคุณได้และคุณควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่แม้ว่าคุณจะชอบการออกแบบเหล่านี้ก็ตาม ให้เข้าใจง่ายๆ คือพยายามเลือกรองเท้าที่คุณสวมใส่แล้วรู้สึกสบายเท้า หลักการเลือกรองเท้าสำหรับเท้าแบนมีดังนี้ ภายในของรองเท้าจากส้นเท้าถึงปลายสุดของนิ้วโป้งเท้าต้องมีลักษณะตรง รองเท้าหุ้มและยึดส่วนข้อเท้าได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง ส้นรองเท้า ควรกระชับพอดีกับด้านหลัง ไม่ขยับขึ้นลงได้ ส่วนหน้าเท้า ให้พื้นที่และอิสระในการเคลื่อนไหวนิ้วเท้าได้สะดวก เลือกรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของคุณ เช่นปลายเท้ากว้างไม่ควรเลือกรองเท้าหัวเล็กและแคบ รองเท้ามีจุดยึดเท้าให้อยู่ภายในรองเท้าดี ไม่เกิดการการเลื่อนไหลขณะเกิน รองเท้ามีพื้นที่ให้ส่วนของส้นเท้ากว้าง ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 ½ นิ้ว เพื่อทำงาน แผ่นรองเท้าแบน สามารถทดแทนรองเท้าสำหรับเท้าแบน ได้หรือไม่ จริงๆ แล้วอาการแก้ไขอุ้งเท้าแบนสามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาโดยที่ไม่ต้องใช้การผ่าตัด สามารถใช้แผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้าที่ถูกออกแบบให้มีการพยุงอุ้งเท้าที่พอดีและควรมีการเสริมด้านในฝ่าเท้าเพื่อป้องกันการเกิดอุ้งเท้าแบนมากขึ้นอีกรองเท้าที่สวมใส่ควรเป็นรองเท้าที่สวมใส่ได้พอดี ตามหลักการเลือกรองเท้า  หลักการเลือกแผ่นรองเท้าแบน ควรเลือกแผนรองเท้าแบบที่ทำมาเพื่อเท้าของคุณโดยเฉพาะ แผ่นรองควรทำโดยนักกายอุปกรณ์

ควรใช้ รองเท้าสำหรับเท้าแบน หรือ แค่แผ่นรองเท้าแบน Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top