แผลเบาหวาน

รักษาแผลเบาหวาน

กายอุปกรณ์กับกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน

ในกระบวนการ รักษาแผลเบาหวาน มีหลากหลายวิธีผสมผสานกันไปเพื่อทำให้แผลหายได้ไวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทานยา ทำแผลหรือแม้กระทั้งการใช้กายอุปกรณ์ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการปลายประสาทเสื่อมทำให้ความรู้สึกที่เท้าลดลงหรือไม่รู้สึกเลย เมื่อเวลาเกิดบาดแผลที่เท้าคนไข้มักจะไม่รู้ตัวและใช้เท้าต่อไปทำให้แผลบริเวณฝ่าเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้นและรุกลามไปจนตัดขาได้ กายอุปกรณ์ที่นำมาร่วมรักษาแผลเบาหวานนั้นจะช่วยทำให้แผลหายไวขึ้นหรือป้องกันการขยายขนาดของแผลและลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไข้สามารถดำเนินกิจวัตประจำในขณะที่แผลยังไม่สมานตัวดี หลักการการ รักษาแผลเบาหวาน โดยกายอุปกรณ์ การกระจายน้ำหนัก  เมื่อมีน้ำหนักมากดลงบนจุดใดจุดหนึ่งมากๆก็จะทำผิวหนังของเราเกิดบาดแผลได้ หลักการนี้คือการกระจายน้ำหนักออกไปให้ทั่วๆไม่กดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส นั้นหมายถึงการทำอุปกรณ์ให้มีขนาดและรูปร่างที่พอดีกับร่างกายมากที่สุด การเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนัก บาดแผลมักจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการลงน้ำหนักมากเป็นเวลานาน เราจึงจะย้ายตำแหน่งที่ลงน้ำหนักไปอยู่บริเวณอื่นที่ไม่มีบาดแผล หรือลงน้ำหนักผิดตำแหน่งอันเรื่องมากจากการผิดรูปของเท้าเราก็จะย้ายตำแหน่งน้ำหนักมาอยู่ที่บริเวณที่เหมาะสมแทน  การลดการเสียดสี การเลือกใช้วัสดุที่มาสัมผัสกับผิวของเรานั้นก็สำคัญ วัสดุที่มีแรงเสียดสีกับผิวเราน้อยก็จะทำให้ผิวไม่เกิดแผล นอกจากนี้การที่กายอุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเหมาะสมกับร่างกายก็จะไม่เกิดการขยับขณะสวมใส่กายอุปกรณ์ก็จะไม่เกิดการเสียดสีที่ผิวขึ้น กายอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน 1.แผ่นรองเท้า แผ่นรองเท้านี้จะใส่เข้าไปในรองเท้ารองรับฝ่าเท้าขณะใส่รองเท้า มีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบเฉพาะรายบุคคล แผ่นรองเท้าจะทำมาจากหลากหลายวัสดุ มีความแข็งและนิ่มแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะอาการของคนผู้ป่วย แผ่นรองเท้าจะถูกทำออกมาให้เข้าพอดีกับรูปเท้าและสัมผัสทั่วทั้งบริเวณฝ่าเท้าทำให้เกิดการกระจายน้ำหนักเท่ากันทั่วทั้งฝ่าเท้า หรือการออกแบบให้เปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณที่มีแผล การออกแบบแผ่นรองเท้าและการเลือกใช้วัสดุนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาจากอาการของคนไข้เป็นสำคัญ 2.อุปกรณ์ประคองข้อเท้า อุปกรณ์จะคลุมบริเวณทั่วทั้งเท้าขึ้นไปถึงบริเวณใต้เข่าและจำกัดการเคลื่อนไหว้ของข้อเท้า มีทั้งแบบเฉพาะบุคคลและแบบสำเร็จรูป อุปกรณ์ได้นำเอาหลักการการกระจายน้ำและการเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักจากเท้ามาที่บริเวณเอ็นหัวเข่าในกรณีที่เท้ามีบาดแผลขนาดใหญ่และไม่สามารถรับน้ำหนักที่เท้าได้ ช่วยให้แผลหายไว้ขึ้นอุปกรณ์ประคองข้อเท้านี้ยังสามารถใช้ร่วมกับแผ่นรองเท้าได้อีกด้วย ทั้งนี้แพทย์และนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาอาการและเห็นว่าแผ่นรองเท้าไม่ช่วยรักษาแผลเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเปลี่ยนมาใช้เป็นอุปกรณ์ประคองข้อเท้าแทน 3.รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน รองเท้าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจากกรวด หิน ดิน ทรายและสภาพแวดล้อมภายนอก การเลือกรองเท้าเบาหวานจึงมีสำคัญ หากเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะไม่สามารถปกป้องเท้าได้แล้วยังสามารถทำให้เท้าของผู้ป่วยเกิดแผลได้อีกด้วย รองเท้าควรจะมีขนาดที่พอดีกับเท้าของคนไข้ไม่เล็กเกินไปจนบีบเท้าหรือใหญ่เกินไปทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้าได้ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเท้าผิดรูปอาจจะไม่สามารถใช้รองเท้าที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาดได้ อาจจะต้องสั่งทำรองเท้าที่ตัดขึ้นสำหรับผู้ป่วยคนนั้น ๆ 7 วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าที่สายรัดเพราะผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการชาที่เท้าทำให้บางครั้งรองเท้าหลุดได้ […]

กายอุปกรณ์กับกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน Read More »

แผลเบาหวาน

วิธีดูแล แผลเบาหวาน ที่เท้า

แผลเบาหวาน หรือแผลที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คุณหมอมักคอยกำชับให้ผู้ป่วยเบาหวานระมัดระวังการเกิดแผล โดยเฉพาะการเกิดแผลที่เท้า เพราะแผลในผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้ากว่าแผลธรรมดาหรืออาจจะส่งผลให้ โดนตัดขาได้ถ้าดูแลไม่ดี โดยสาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า มีหลายปัจจัยได้แก่   ปลายประสาทเสื่อม ทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เท้าสูญเสียหรือลดลงไป ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมักไม่หยุดใช้เท้าเนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บทำให้แผลลุกลามและติดเชื้อในที่สุด ความผิดปกติของหลอดเลือด เนื่องจากสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ตีบหรือการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเหวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้เพียงพอทำให้การสมานตัวของแผลเป็นไปได้ช้า การติดเชื้อแทรกซ้อน แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ยิ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือดด้วยแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา การดูแลรักษา แผลเบาหวาน ที่เท้า การรักษาแผลเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน เช็ดให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่ควรใช้แอลกอฮอลเช็ดทำความสะอาดแผลเพราะแฮลกอฮอลจะไปทำลายเนื้อเยื่อที่แผลได้ แต่สามารถเช็ดทำความสะอาดรอบๆปากแผลได้ ใช้ผ้าปิดแผลปิดแผลที่ได้รับการทำความสะอาดแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดที่แผลโดยตรง หากแผลมีอาการบวมแดงและมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวด ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว การรักษาโดยแพทย์ โดยพิจารณาตามความรุนแรงของอาการ การทำแผลที่มีหนองและเนื้อตาย โดยแพทย์จะกรีดระบายหนองออกและตัดเนื้อที่ตายออกการใช้ยาปฎิชีวะนะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิฉัยและสั่งยา การหยุดพักบริเวณแผล พยายามเดินเท่าที่จำเป็นหรือแพทย์จะพิจารณาสั่งทำแผ่นรองเท้าหรือรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณแผล การผ่าตัดหลอดเลือด หากแผลได้รับการวินิฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบแข็ง ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมิณพยาธสภาพของโรคและความพร้อมของผู้ป่วยว่สำควรเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ การผ่าตัดเท้าทิ้ง จะจำเป็นเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดยแพทย์ผู้พิจารณาระดับการตัดเท้า การป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า รักษาความสะอาดของเท้า ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด สบู่ และเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว

วิธีดูแล แผลเบาหวาน ที่เท้า Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top